...ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้...คุยกับผอ.ชินวงศ์...
สวัสดีครับห่างหายไปนาน เนื่องจากภาระหน้าที่ที่ต้องเปลี่ยนสายงานและย้ายที่ทำงานใหม่

ทำให้หาโอกาสที่จะนำเสนอเรื่องราวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ยาก
ตอนนี้ภาระงานเริ่มเข้าที่เข้าทางจึงเริ่มมีโอกาสเขียนบทความ
นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในขณะเดียวกันก็ใช้ชื่อบล็อกใหม่ด้วย
เนื่องจากหน้าบล็อกเดิมถูกไวรัส+แฮกเกอร์โจมตี จึงเปลี่ยนชื่อบล็อกใหม่
เป็น http://kruchinnawong.blogspot.com/
ซึ่งก็คงจะมีบทความ ใหม่ๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ในโอกาสต่อไป .........ชินวงศ์ ดีนาน......

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การจัดรูปแบบและการพิมพ์ผลงานทางวิชาการ

การจัดรูปแบบและการพิมพ์ผลงานทางวิชาการ

มีคุณครูหลายท่านสอบถามเกี่ยวกับการจัดรูปแบบในการพิมพ์ผลงานทางวิชาการ
ว่าจะกำหนดขนาดกระดาษ ขอบกระดาษ กำหนดระยะแท็บอย่างไร จึงได้รวบรวม
และสรุปประเด็นสำคัญมาเพื่อประโยชน์แก่คุณครูดังนี้ครับ
การกำหนดขนาดกระดาษและย่อหน้าในการพิมพ์ผลงาน

การกำหนดขนาดกระดาษเป็นข้อกำหนดที่ใช้กับการพิมพ์ผลงานทั้งฉบับ
เป็นหลักเกณฑ์อันดับแรก ที่ต้องคำนึงถึง มีดังนี้
1. กำหนดขนาดกระดาษที่ใช้พิมพ์ มีขนาด “A4”
2. ก่อนลงมือพิมพ์ควรกำหนดแนวขอบซ้าย(กั้นหน้า) ขอบขวา(กั้นหลัง)
ขอบบน และขอบล่างของหน้ากระดาษให้ได้ขนาดที่กำหนด คือขอบซ้ายและขอบบน
ห่างจากริมกระดาษ 3.5เซ็นติเมตร ส่วนขอบขวาและขอบล่างให้ห่างจากริม
ของกระดาษ2.5เซ็นติเมตร แนวดังกล่าวนี้ เป็นแนวสมมติไม่ต้องตีเส้นล้อมกรอบ
ดังภาพประกอบ 1 และ 2

ภาพประกอบ 1 การตั้งค่าหน้ากระดาษของขอบกระดาษก่อนการพิมพ์

ภาพประกอบ 2 การตั้งค่าหน้ากระดาษของขนาดกระดาษก่อนการพิมพ์

3. ตัวอักษรที่ใช้ต้องเป็นตัวอักษรอังสนา(Angsana)ขนาด 16 จุด สำหรับหัวข้อ
จะเป็นตัวอักษรเข้มขนาด 18 จุดก็ได้ และต้องเป็นตัวอักษรแบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม
ส่วนตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของคำหรือข้อความจะขึ้นต้นด้วยอักษร
ตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กก็ได้ แต่ต้องเป็นแบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม
4. ตัวเลขให้ใช้แบบเดียวกันตลอดทั้งฉบับ เช่น ใช้เลขอารบิกแบบเดียวโดยตลอด
หากจำเป็นต้องใช้เลขไทยก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม เช่น อาจจะใช้เลขอารบิกกับเนื้อเรื่อง
หรือการอ้างอิงที่เป็นภาษาอังกฤษ และใช้เลขไทยกับส่วนที่เป็นภาษาไทย
แต่ต้องระวังอย่าใช้เลขไทยกับข้อความภาษาอังกฤษ
5. เลขกำกับหน้าและการนับหน้า แยกเป็น 2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ในส่วนประกอบตอนต้น ให้ใช้อักษร ก ข ค ...
แทนเลขกำกับหน้าส่วน โดยเริ่มนับตั้งแต่หน้าปกในเป็นต้นไป
ตอนที่ 2 ตั้งแต่เนื้อเรื่องเป็นต้นไปจนถึงหน้าสุดท้ายของเล่มต้องใช้ตัวเลขกำกับหน้าตามลำดับ
การลงเลขหน้าให้วางเลขหน้าห่างจากริมกระดาษขอบขวา 2.5 เซนติเมตร
และ ริมกระดาษด้านบน 2.5 เซนติเมตร หน้าและหลังเลขกำกับหน้าไม่ต้องใส่เครื่องหมายใด ๆ
ตำแหน่งของเลขหน้าจะต้องอยู่ตรงกันทุกหน้า ยกเว้นหน้าแรกของแต่ละบท บรรณานุกรม ภาคผนวก
และประวัติย่อ ไม่ต้องใส่เลขกำกับหน้า
6. การพิมพ์ และการถ่ายเอกสารให้ใช้กระดาษเพียงหน้าเดียว เมื่อเข้าเล่มแล้วหน้าที่มีข้อความ
จะอยู่ทางขวามือของผู้อ่านตลอด
7. การย่อหน้า ย่อหน้าแรกให้เว้นระยะ 1.5 เซ็นติเมตร จากขอบซ้าย หากมีย่อหน้า
ที่ย่อยลงไปอีกให้เว้นระยะเพิ่มออกไปอีก 0.5 เซ็นติเมตร ไปเรื่อย ๆ และเพื่อความสะดวกและ
รวดเร็วในการพิมพ์ ให้ดำเนินการจัดระบบการพิมพ์โดยการตั้งย่อหน้าไว้ที่เครื่องพิมพ์ก่อน
โดยกำหนดที่เมนูรูปแบบ และเลือกแท็บ ดังภาพประกอบ 3

ภาพประกอบ 3 การตั้งค่าปรับย่อหน้าก่อนลงมือพิมพ์

ตัวอย่างการปรับย่อหน้า (/ แทนการเคาะ1 ครั้ง)

ข้อควรระวัง 1.ไม่ควรใช้เครื่องหมาย – หรือสัญลักษณ์อื่นใดนอกจากตัวเลข
2.กรณีที่มีเลขข้อ 2หลัก ควรกำหนดระยะเคาะหลังตัวเลขประมาณ 4เคาะให้เท่ากัน

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ18 พฤษภาคม 2553 เวลา 18:46

    เป็นประโยชน์สำหรับคุณครูที่กำลังจะส่งผลงาน
    โอกาสหน้าถ้ามีข้อสงสัยจะคิดถึง ผอ.เป็นคนแรก

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ14 ตุลาคม 2553 เวลา 16:48

    ถ้าในการพิมพ์ผลงาน นวัตกรรม ตั้งค่าแบบนี้ก็ใช้เหมือนกันค่ะ

    แต่ถ้าในการพิมพ์ 5 บท การตั้งย่อหน้าเริ่มต้นน่าจะเป็น 0.68" ตามหลักการพิมพ์งานวิจัยหรือเปล่าคะ

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ13 มีนาคม 2557 เวลา 07:09

    เป็นประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณมากคะ ^^

    ตอบลบ